Pages

Saturday, August 15, 2020

เช็ก 7 สาเหตุทำ "อ้วนลงพุง" สัญญาณเตือนสู่สารพัดโรค แนะเทคนิคการเลือกกิน - ไทยรัฐ

simpangsiuur.blogspot.com

1. ภาวะต้านอินซูลิน เกิดจากการกินแป้งมากทำให้น้ำตาลสูง

2. เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง

3. กรรมพันธุ์

4. ภาวะโรคต่อมไร้ท่อทำงานผิดปกติ และความผิดปกติของฮอร์โมน

วิธีตรวจวัดเส้นรอบพุง

1. ให้อยู่ในท่ายืน เท้า 2 ข้างห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร

2. ใช้สายวัด วัดรอบพุงผ่านสะดือ (หน่วยเป็น เซนติเมตร)

3. วัดในช่วงหายใจออก (ท้องแฟบ) ให้สายวัดแนบกับลำตัว ไม่รัดแน่น

เมื่อวัดเส้นรอบพุงกันแล้ว ถ้าเกิน "ส่วนสูงหารสอง" แสดงว่าคุณตกอยู่ในสภาวะ "อ้วนลงพุง"

  • เช่น คุณหยก มีส่วนสูง 165 เซนติเมตร เมื่อวัดเส้นรอบพุงแล้วได้ 93 เซนติเมตร แสดงว่านางหยก "อ้วนลงพุง"

 

วิธีการรักษาโรคอ้วนลงพุง

สำหรับใครที่ต้องการจะลดน้ำหนัก ควรเพิ่มการออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที จำนวน 5 ครั้ง/สัปดาห์ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยการควบคุมปริมาณอาหารไม่ให้มากเกินไป ลดหวาน มัน เค็ม ในอาหาร ซึ่งเป็นรสชาติที่คนไทยชอบรับประทาน

ขณะที่ การจำกัดปริมาณอาหารเป็นสิ่งสำคัญเพื่อควบคุมพลังงานไม่ให้มากเกินความต้องการของร่างกาย

1. รับประทานอาหารตามสัดส่วนแบบง่ายๆ

2. รับประทานอาหาร คือ ผัก - แป้ง - โปรตีน หรือ 2 - 1 - 1

เทคนิคในการเลือกรับประทานอาหารป้องกันโรคอ้วนลงพุง

1. ลดปริมาณข้าวให้น้อยกว่าปกติ

2. เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น ปลา หมูไม่ติดมัน ไก่ไม่ติดหนัง เต้าหู้

3. เมนูอาหารที่ไม่ใช่ทอด หรือกะทิ

4. เพิ่มผักเยอะๆ อิ่มด้วยผัก

5. ไข่สามารถรับประทานได้ เปลี่ยนเป็นไข่ต้ม หลีกเลี่ยงไข่ดาว หรือ ไข่เจียว

6. ดื่มน้ำเปล่า หลีกเลี่ยงน้ำหวาน หรือน้ำอัดลม

หลักการรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันและลดไขมันในเลือด

1. หลักการรับประทานอาหาร

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป ไข่แดง เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล (กุ้ง, หอย, ปู, ปลาหมึก)
  • หลีกเลี่ยงอาหารและขนมที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานเนย มาการีน ชีส ครีม รวมถึงเค้ก คุกกี้ เบเกอรี่ ไอศกรีม
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
  • ประกอบอาหารด้วยการต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง ผัดน้ำมันน้อยแทนการทอด

2. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยให้มากขึ้น เช่น ข้าวซ้อมมือ ผัก ผลไม้น้ำตาลน้อย เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ชมพู่ เป็นต้น

3. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง (150 นาที/สัปดาห์)

5. งดดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และงดสูบบุหรี่

นอกจากนี้เราควรหลีกเลี่ยง การรับประทานอาหารจานเดียวที่มีพลังงานสูง และเพิ่มการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้อีกด้วย.

ผู้เขียน : กนก โฆษกสุขภาพ

ขอบคุณ : นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์, สถาบันโรคทรวงอก

กราฟิก : Jutaphun Sooksamphun

Let's block ads! (Why?)



"อาหารหวาน" - Google News
August 16, 2020 at 07:30AM
https://ift.tt/2PXVouA

เช็ก 7 สาเหตุทำ "อ้วนลงพุง" สัญญาณเตือนสู่สารพัดโรค แนะเทคนิคการเลือกกิน - ไทยรัฐ
"อาหารหวาน" - Google News
https://ift.tt/36V3prP

No comments:

Post a Comment