Pages

Friday, August 14, 2020

อย. รับ ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนอันตราย ลุยตรวจจับ หลังชาวบ้านร้องเรียน - เชียงไหม่นิวส์

simpangsiuur.blogspot.com

ภญ.สุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน กรณีข้อมูลผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับฐานข้อมูลของ อย. จากการตรวจสอบพบเว็บไซต์หลักของผลิตภัณฑ์ที่มีการร้องเรียนเข้ามา เช่น 7Fit ได้ปิดไปแล้ว แต่พบอีก 7 เว็บไซต์ ยังทำการโฆษณาและจำหน่าย ในการตรวจสอบเลขสารบบอาหารที่ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ พบมีการสวมเลขสารบบผลิตภัณฑ์อื่น จึงเข้าข่ายเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปลอม มีการโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง

ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มักจะระบุข้อความ เช่น หมดปัญหา แคลอรี่ส่วนเกิน ไม่ต้องคุมอาหาร ลดน้ำหนักด้วย สารสกัดจากธรรมชาติ ไม่มีผลข้างเคียง เป็นการโฆษณาเกินขอบเขตความเป็นอาหาร เนื่องจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่มีสรรพคุณบำบัดรักษา หรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกาย จึงได้ประสานกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระงับการโฆษณาและดำเนินการตามกฎหมายในกรณีที่พบผลิตภัณฑ์เข้าข่ายกระทำความผิด

รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แนะนำผู้บริโภคระมัดระวังอย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณ เกินจริงของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น เห็นผลไว เห็นผลจริง ปลอดภัย การันตี ไม่มีผลข้างเคียง เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อ้างลดน้ำหนัก อย. มักพบว่ามีส่วนผสมของสารไซบูทรามีน หรือยาแผนปัจจุบัน ผลที่ได้อาจไม่คุ้มเสีย เพราะนอกจากจะเสียเงินแล้วยังเสียสุขภาพจากผลข้างเคียงของยาดังกล่าว และอาจเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ ก่อนการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาบริโภค ขอให้ตรวจสอบสถานะเลข อย. ผ่านช่องทาง ไลน์ : FDAthai, ORYOR Smart Application, เว็บไซต์ fda.moph.go.th และเว็บไซต์ .oryor.com หากพบผลิตภัณฑ์ที่ซื้อ วางจำหน่ายตามช่องทางต่าง ๆ ไม่กับฐานข้อมูล หรือพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

ด้านเครือข่าย อย.น้อย จังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า ที่ผ่าน ๆ มาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีการประสานงาน แนะนำการตรวจติดตามผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่มีการโฆษณาว่ามีผลช่วยลดน้ำหนักสำหรับคนดื้อ (ลดยาก) และเผยแพร่ผลตรวจวิเคราะห์ของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ หลาย ๆ ผลิตภัณฑ์มีสารไซบูทรามีน ไฮโดรคลอไรด์ เป็นยาที่อย.ได้ยกเลิกทะเบียนตำรับยา

“แต่บางผลิตภัณฑ์ ไม่ได้ผลิตในไทย ไม่มีการแสดงฉลากภาษาไทย และไม่ได้รับอนุญาตจาก อย. ดังนั้น จึงขอเตือนผู้บริโภคให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อ เนื่องจากผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อ อาจมีสารก่ออันตราย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคตับ โรคไต โรคต้อหิน หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร โดยจะมีอาการข้างเคียง คือ ปากแห้ง ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ท้องผูกทำให้เกิดความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้”

สำนักงานสาธารณสุข จ.เชียงใหม่ แนะนำว่าหากต้องการลดความอ้วนอย่างปลอดภัยและยั่งยืนควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและควบคุมอาหาร โดยการไม่กินอาหารพร่ำเพื่อ ไม่กินจุบกินจิบ ควรทานอาหารที่หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสมครบ 5 หมู่ ลดการกินอาหาร หวาน มัน เค็ม รวมทั้งออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

“ระลึกไว้เสมอว่า อาหารไม่ใช่ยาไม่สามารถช่วยบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคได้ อย. ไม่เคยอนุญาตให้โฆษณากาแฟ, ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นอาหารลดน้ำหนัก จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด เพราะนอกจากจะสิ้นเปลืองเงินแล้วยังอาจได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนยาหรือสารอันตรายที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ได้ มีข้อสงสัยในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ แจ้งได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ”

Let's block ads! (Why?)



"อาหารหวาน" - Google News
August 14, 2020 at 02:04PM
https://ift.tt/31OBLLb

อย. รับ ผลิตภัณฑ์ลดความอ้วนอันตราย ลุยตรวจจับ หลังชาวบ้านร้องเรียน - เชียงไหม่นิวส์
"อาหารหวาน" - Google News
https://ift.tt/36V3prP

No comments:

Post a Comment